แหล่งท่องเที่ยว วัดพระพุทธบาทตากผ้า

วัดพระพุทธบาทตากผ้า
อ. ป่าซาง จ. ลำพูนวัดพระพุทธบาทตากผ้า - ข้อมูลทั่วไป วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ตำบลมะกอก เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ช่วงกิโลเมตรที่ 136–137 เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นบันไดทางขึ้นวัดอย่างชัดเจน วัดนี้เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดลำพูน ตามตำนานการสร้างวัดเล่าว่า พระพุทธองค์พร้อมด้วยสาวกได้เสด็จจาริกสั่งสอนไปตามที่ต่าง ๆ จนถึงที่แห่งนี้ได้รับสั่งให้นำจีวรที่ซักระหว่างทางออกมาตากกับหน้าผาหิน ซึ่งปัจจุบันก็ยังปรากฏเป็นรอยตารางคล้ายจีวรของพระอยู่จนทุกวันนี้ จากนั้นจึงทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทประดิษฐานรอยไว้บนลานผาลาดซึ่งเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน และบนม่อนดอยเบื้องหลังวัดได้มีการสร้างพระเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานจากพระธาตุดอยสุเทพและพระธาตุหริภุญชัย โดยมีบันไดนาค 469 ขั้น เชื่อมระหว่างเจดีย์บนม่อนดอยกับวัดพระบาทตากผ้าที่เชิงดอย ปัจจุบันสามารถนำรถขึ้นไปได้ เมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือนแปดเหนือ ซึ่งตรงกับวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีการสรงน้ำพระพุทธบาทเป็นประเพณีทุกปี



วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมเยอะมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ครับ ตั้งอยู่ที่ ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน บริเวณวัดก็มีสภาพเป็นผาลาด มีพื้นดินส่วนใหญ่เป็นหินศิลาแลง มีเจดีย์อยู่ด้านหลังวัด ซึ่งเจดีย์ตั้งอยู่บนภูเขา มีทางเดินเป็นบันไดนาคขึ้นไป ประมาณ 400 กว่าขั้น หรือถ้าใครขึ้นไม่ไหวก็สามารถนำรถขึ้นไปได้ครับ ซึ่งด้านบนภูเขาจะมีเจดีย์ มีวิหารที่สวยงาม จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารเขียนบอกเรื่องราวความเป็นมาของจังหวัดลำพูนและคนยองครับ


วัดพระพุทธบาทตากผ้า จากตำนานการสร้างวัดกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่นี้แล้วทรงนำเอาจีวรออกตากกับพื้นศิลาแลง ซึ่งปัจจุบันมีลายตารางคล้ายกับจีวรพระตากอยู่ ตามตำนานที่บอกกล่าวกันมาว่า พระพุทธเจ้าทรงอธิฐานประทับรอบพระบาท ณ สถานที่แห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธบริษัททั้งหลาย หลังจากนั้นทรงพักผ่อนอิริยาบถและรับสั่งให้พระอานนท์นำจีวรของพระองค์ไปซัก และตากไว้บริเวณผาลาดใกล้ๆบริเวณที่ประทับ ซึ่งปรากฏเป็นรูปรอบตารางคล้ายๆ รอยจีวรบนแผ่นศิลา ลักษณะของรอยตากผ้าจีวร เป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายผืนนาของชาวมคธ อินเดียเพราะมีการนำลักษณะของผืนนามาเป็นตัวอย่างในกาตัดเย็บจีวร


ทางขึ้นจะเป็นบันไดนาค มีประมาณ 400 กว่าขั้นครับ ส่วนอีกรูปหนึ่งเป็นมุมด้านบนมองมายังบริเวณของวัดที่อยู่ด้านล่าง



นี้คือเจดีบนยอดดอยที่มองจากไกลๆเห็นชัดเจดเลยนะคับ

ในแต่ละด้านของซุ้มภายในเจดีย์จะมีรูปปั้นของครูบาสี่พ่อลูก คือ พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (คำ) พระครูสุพรหมายานเถระ (พรหมา) พระสุธรรมยานเถระ (น้อย) ครูบาพ่อเป็ง โพธิโก(พ่อ) จิตรกรรมฝาผนังก็เป็นเรื่องราวของการก่อสร้างเจดีย์และประวัติของครูบาแต่ละท่าน นอกจากนี้บริเวณแต่ละข้างของเจดีย์ยังมีวิหาร ศาลาสำหรับไหว้พระอีก 4 ศาลาครับ แต่ถ่ายรูปมาไม่ครบนะครับลองดูจากภาพครับ


จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารบนภูเขานั้นจะบอกเรื่องราวความเป็นมาของจังหวัดลำพูนและคนยองนะครับ เท่าที่ผมได้อ่านและจำได้คร่าวๆนะครับคือ ภาพที่ 1 เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ (ผมจำไม่ได้ว่าที่ฝาผนังเค้าเขียนว่า เจ้ากาวิละหรือเปล่านะครับ) ได้เดินทางไปทูลเรื่องราวของพื้นที่จังหวัดลำพูนให้แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทราบว่าพื้นที่จังหวัดลำพูนไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เกรงว่าจะกลายเป็นเมืองร้าง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงรับสั่งให้สืบหาคนที่พอจะพูดภาษายองได้ (เพราะภาษายองเป็นภาษาท้องถิ่นของชาวลำพูน) ให้มาอาศัยอยู่ที่จังหวัดลำพูน หลังจากนั้นเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ (ภาพจิตรกรรมที่ 2) จึงได้เดินทางโดยเรือกลับมาเชียงใหม่ แล้วทำการค้นหาคนที่พอจะพูดภาษายองได้ และมีการจัดทัพมาที่ลำพูน ระหว่างทางก็มีการขอให้เมืองเล็กเมืองน้อยให้ยอมสวามิภักดิ์เสียโดยดี ซึ่งเมืองเหล่านั้นก็ได้ยอม เมื่อมาถึงลำพูนก็ได้ทำการบูรณะเมืองครับ (เป็นเรื่องราวที่เขียนไว้ที่ฝาผนังนะครับ ผมพอจะจำได้คร่าวๆ) ซึ่งภาพทั้งหมดจะเรียงเป็นหมายเลขเล่าเรื่องราวครับ


มองจากตรงนี้เราจะเห็นเจดีที่อยู่บนภูเขาตรงโน้นระยะเวลาในการเดินไปขึ้นนั้นใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีจะมีบันดัน 400 ขั้น



นี้คือรอยพระบาทที่ชาวบ้าวมากราบไหว้กันเป็นประจำ



แหล่งท่องเที่ยว วัดพระพุทธบาทตากผ้า

No comments: