วัดร่อนขุ่น

วัดร่อนขุ่นสถานที่ท่อเที่ยวของจังหวังเชียงราย





วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือคุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่ และมีพระกิตติพงษ์ กัลยาโณ รักษาการเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน



ประวัติ
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
1.ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
2.ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
3.พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน









ความหมายของอุโบสถ
สีขาว : พระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า
สะพาน : การเดินข้ามจากวัฎสงสารสู่พุทธภูมิ
เขี้ยว หรือ ปากพญามาร : กิเลสในใจ
สันของสะพาน : มีอสูรอมกัน ข้างละ 8 ตัว 2 ข้าง รวมกันแทนอุปกิเลส 16
กึ่งกลางของสะพาน : เขาพระสุเมรุ
ดอกบัวทิพย์ : มี 4 ดอกใหญ่ตรงทางขึ้นด้านข้างอุโบสถแทนซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
บันไดทางขึ้น : มี 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เกร็ดในการก่อสร้าง
ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาใช้เงินในการก่อสร้าง 180 ล้านบาท
คาดว่าจะสร้างอุโบสถ 9 หลังจนเสร็จสมบูรณ์ด้วยเวลาทั้งสิ้น 60 - 70 ปี
ที่ตั้ง
ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 โทรศัพท์ 0-5367-3579, 0-5367-3539
วัด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 6.30 - 18.00 น.
ห้องแสดงภาพ : เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ - ศุกร์ 8.00 - 17.30 น. ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 8.00 - 18.00 น.
ขอขอบคุณ www.watrongkhun.com ที่มาของข้อมูล

ท่องเที่ยวดอยปุ่ย


ภาพถ่ายด้านบนของหมูบ้าน

มะคุเทศน้อยแห่งดอยปุยทริปนี้หมูหิน.คอม พาแอ่วดอยปุยเชียงใหม่เจ้า...เรามาดูกันดีกว่า ว่าจากการที่เราไปเที่ยวดอยสุเทพขึ้นไปสักการะบูชาแล้ว หากขับรถขึ้นไปอีกจะมีอะไรให้ดูอีกมากมายเลยครับ ดอยปุยไงครับ ดอยปุย เนื่องจากแต่เดิม(50 ปีโดยประมาณ) จากที่เราได้นั่งพูดคุยกับผู้เฒ่าที่มีอายุมากที่สุดในหมูบ้าน ซึ่งผู้เฒ่าคนนี้เองก็เป็นลูกชายเพียงคนเดียวที่เหลืออยู่ของผู้ที่มีอายุมากที่สุดของหมู่บ้านถึง 100 ปีเลยทีเดียว ในสมัยนั้นดอยปุยได้มีการปลูกฝิ่นเป็นจำนวนมาก ยาเสพติดระบายอย่างรวดเร็วในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีรับสั่งให้ทางการเข้ามาดูแลเรื่องการปลูกฝิ่นของชาวบ้านในภาคเหนือ เพื่อให้ความรู้ทางการเกษตรของชาวบ้านเปลี่ยนจากการปลูกฝิ่นมาเป็นปลูกพืชผักสวนครัวขายแทน ตั้งแต่นั้นมาชาวม้งที่อยู่ดอยปุยก็หันมาเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ทุกอย่าง ผู้เฒ่าบอกว่าจากที่เคยสูบฝิ่นกันจำนวนมkกในหมู่บ้าน(ในตอนนั้น)ก็หันมาทำมาหากินกับแบบพอเพียง ปลูกผักขายบ้าง เย็บรองเท้าขายบ้าง เย้บเสื้อผ้าขายบ้าง ด้วยความที่ดอยปุยมีอากาศค่อนข้างเย็นทำให้พืชผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้พ่อค้าคนกลางเดินทางมารับไปขายในเมือง จากนั้นเองดอยปุยก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นในเชิงท่องเที่ยว ทำให้มีรายได้มากขึ้น ชาวม้งไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็มีรายได้มากขึ้น ทำให้การปลูกฝิ่นหายไปจนหมดสิ้น






ถ่ายรูปกับไกด์นำเที่ยวดอยปุ่ย

นั่นเองก็เป็นที่มาของดอยปุย แต่ตอนนี้ดอยปุยได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ไปแล้ว เพราะนักท่องเที่ยวทีมาสักการะดอยสุเทพก็มักจะขับรถมาเที่ยวดอยปุย เพราะหากขับมาดอยสุเทพแล้วก็ไม่ยากนักที่มาเที่ยวเลยจากดอยสุเทพมา 10 กิโลเมตรโดยประมาณก็จะเจอชาวม้งที่เค้ามีเอกลักษณ์ของชนเผ่าเค้าเอง และที่นี่ก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้อีกบรรยากาศหนึ่งของเชียงใหม่ แต่ที่โดเด่นเป็นอย่างมากที่ทำให้หมูหิน.คอม ประทับใจเป็นอย่างมากก็คือ มะคุเทศน้อย เราจึงเรียกเค้าเหล่านี้ว่า "มะคุเทศน้อยแห่งดอยปุย"




นั่งกินข้าวที่ไกด์ตัวเล็กๆพาไปกินน้องเขาบอกว่าเยี่ยม
รถของทีมงานหมูหิน.คอม กำลังขับลงจากเขาเข้าสู่หมู่บ้านชาวม้ง เราก็ได้เห็น "มะคุเทศน้อยแห่งดอยปุย" วิ่งกันขวักไขว่ มาต้อนรับแขกที่มาเยือนหมู่บ้านชาวม้ง แล้วเราก็ได้เจอ "เจ้าเม่ง"และ"เจ้าป๋อ" สองมุคุเทศ ที่เป็นเพื่อนซี้กันมาหาที่รถแล้วถามเราว่า "พี่คะต้องการมะคุเทศพาเที่ยวไหมคะ เราสองคนพาเที่ยวได้นะ" เราก็เลยถามไปว่า "ราคาเท่าไหร่ล่ะ" เจ้าสองคนก็ตอบมาว่า "แล้วแต่พี่จะให้ค่ะ" จากความน่ารักและคำพูดคำจาอ่อนหวานของเจ้าหนูสองคนนี้ จึงทำให้เราเลือกทีจะมี "มะคุเทศน้อยแห่งดอยปุยนำเที่ยว" จากการที่เราได้สอบถามสองมะคุเทศนี้ จึงทำให้เราทราบถึงที่มาที่ไปของ "มะคุเทศน้อยแห่งดอยปุย" ว่า.....หากว่างเว้นจากเรียนหนังสือก็จะมาเป็นมะคุเทศที่หมู่บ้านของตน จากการที่นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี โดยพื้นเพของชาวเขาที่นี่เป็นชาวม้ง นักท่องเที่ยวที่เข้ามาก็มาเที่ยวแบบเชิงวัฒนธรรม คุณครูที่โรงเรียนหมู่บ้านชาวม้งจึงได้จัดตั้ง "ชมรมมะคุเทศน้อย" ขึ้นมา เพื่อให้เด็กๆได้มีรายได้เสริม มะคุเทศน้อยและคนจะมีบัตรห้อยที่คอแสดงถึงว่าเป็น "มะคุเทศน้อยแห่งดอยปุย" โดยเด็กๆเหล่านี้จะพาทุกท่านเที่ยวชมวัฒนธรรมความเปนอยู่ของชาวม้ง ที่ได้จัดขึ้นอย่างเป็นระเบียบภายในพื้นที่หมู่บ้านชาวม้งของพวกเขา




ใส่ชุดของชาวเขาดูเก๋อีกแบบ


นั่งรถไม้ของชาวบ้านที่เอามาโชว์


เดินไปสักนัดก็จะเจอปืนไม้ ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เค้าเอาไว้ล่าสัตว์ในสมัยก่อนโน้น มีให้ลองกันครับ 3 ดอก 10 บาท(อย่างที่ผมกำลังยิงในรูปครับ) จากนั้นก็ไปเจอผู้เฒ่าที่มีอายุมากที่สุดในหมู่บ้าน อายุท่านถึงร้อยปีทีเดียวนะครับ แต่ยังแข็งแรงมากเดินเหินสบายๆ แต่หูแกไม่ค่อยได้ยินเท่าไรนัก เพราะเสื่อมไปตามกาลเวลาครับ แต่แกพูดภาษากลางของไทยไม่ค่อยได้ เม่งกับป๋อจึงเป็นล่ามให้เราครับ จุดไฮไลท์ของหมู่บ้านชาวม้งที่นี่อยู่ที่สวนหย่อมมี่เค้าจัดขึ้นมาเพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความเป็นอยู่ในสมัยก่อนว่าเป็นอย่างไร เช่นตำข้าว นวดแป้ง หรือสิ่งของของชาวม้งที่ใช้กันในสมัยโบราญอุปกรณ์เป็นไม้ซะส่วนใหญ่ และที่บ่งบอกมากที่สุดคือเค้ามีการปลูกฝิ่นให้ดูว่าต้นฝิ่นและดอกฝิ่นเป็นอย่างไร แต่บังเอิญที่เราไปดอกฝิ่นยังไม่บานครับ และก็มีดอกซากุระที่ชาวม้งเค้าเรียกกันดอกเค้าก็จะคล้ายดอกซากุระครับ เม่งกับป๋อแนะนำเราให้ลองเช่าชุดม้งครับ ราคาก็อยู่ที่ 30 บาททุกชุดครับ เค้าก็จะมีเครื่องประดับตกแต่งครบชุดครับ ชุดก็จะมีอยู่หลากหลายมาก แต่เราก็เอาชุดประจำเผ่าที่เค้าใส่กัน ปัจจุบันเค้าจะใส่กันเฉพาะงานสำคัญๆเท่านั้นเช่น งานแต่งงาน วันขึ้นปีใหม่ม้ง ประมาณนี้ครับ แต่ในสมัยก่อนเค้าแต่งชุดแบบนี้กันเป็นกิจวัตรครับ ชุดของเค้าจะมีความหนามาก เนื่องด้วยภูมิประเทศที่ชาวม้งอาศัยอยู่มีอากาศหนาวเย็นเครื่องแต่งกายของเค้าก็เลยต้องอบอุ่น เพราะชดที่เราใส่จะหนามากครับ หากใครได้มีโอกาสไปเที่ยวดอยปุยก็ลองเช่าใส่ดูกัน หากที่ใครที่ใส่เครื่องเงินเยอะๆชาวม้งถือว่าเป็รคนมีฐานะครับ



จุดชุมวิวของหมูบ้านและถ่ายรูป


นี้ก็อีกที่ที่ให้เราถ่ายภาพที่แสนจะประทับใจ

หลากหลายเสน่ห์ของดอยปุยมีอยู่มากมายแต่ที่หมูหิน.คอม ขอชื่นชมก็คือ "มะคุเทศน้อย" นี่แหละครับทำให้เด็กมีรายเสริมช่วยเหลือครอบครัว และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แต่มีอยู่อย่างนึงที่ หมูหิน.คอม อยากจะชี้แนะอยู่อย่างนึงก็คือว่าการสอนให้เด็กๆชาวม้งให้ขอเงินจากนักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆ มันทำให้การท่องเที่ยวของหมู่บ้านดอยปุยไม่มีเสน่ห์หรืออาจะทำให้เสน่ห์ของชาวม้งที่นักท่องเที่ยวต้องการจะเดินทางมาดูวัฒนธรรมที่ดีงามนั้นรู้สึกไม่ดีนัก เพราะจะมีเด็กอยู่กลุ่มนึงที่เค้าคอยขอเงินจากนักท่องเที่ยวอยู่และสามารถพูดได้ทุกภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาจีน เยอรมัน ศรั่งเศษ แต่จะพูดได้เฉพาะประโยคเดียวเท่านั้นครับหมูหิน.คอม ขอฝากตรงนี้ไว้ด้วย เพราะใช่ว่าจะทำให้เสน่ห์ของชาวเชียงใหม่ค่อยๆเสื่อมลง บางทีอาจะทำให้เสน่ห์ของคนไทยอย่างเราๆหมดไปก็ได้นะครับ แต่ถึงอย่างไร หมูหิน.คอม ก็ยังส่งเสริมให้เด็กไทยมีอนาคตที่ดีนะครับ ทริปหน้า หมูหิน.คอม จะพาเที่ยวที่ไหนอีกติดตตามกันต่อไปนะครับ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนไม่ว่าจะหมูๆหรือหินๆ หมูหิน.คอม จะพาเที่ยวต่อไปเพื่อเก็บรูป เรื่องและวีดีโอมาให้ได้ดูชมกันครับ

ถ่ายรูปกับรถไม้ที่ชาวบ้านเขาใช้แข่นกัน

ขอขอบคุณ http://www.moohin.com/ ที่ให้ข้อมูล

ทริปไปเที่ยวพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
































พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ - ข้อมูลทั่วไป
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในด้านความสวยงาม และมีความสำคัญยิ่งคือ เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ พระตำหนักแห่งนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2503 บริเวณใกล้ดอยบวกห้า ลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย ภายในบริเวณพระตำหนักได้รักษาสภาพธรรมชาติไว้ รวมทั้งมีการปลูกพันธุ์ไม้ดอกชนิดต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม พระตำหนักนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 4 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้จะต้องเป็นช่วงเวลาที่มิได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ซึ่งปกติจะปิดในช่วงเวลาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมีนาคม กิจกรรม - ดูผีเสื้อ - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้ล













ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง - ข้อมูลทั่วไป
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ( ดอยอ่างขาง ) เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน ปัจจุบัน ดอยอ่างขาง ได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขาซึ่งถูกตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ผลกว่า 12 ชนิด ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด และไม้ดอกเมืองหนาวมากกว่า 20 ชนิด สภาพอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่โดยรอบกว่า 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน อากาศบน ดอยอ่างขาง หนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ( ดอยอ่างขาง ) เรื่องกำเนิดของสถานีฯแห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯจึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ มีการจำหน่ายผลิตผลตามฤดูกาลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวในสถานีฯ มีที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยวดูรายละเอียดในข้อมูลที่พัก

สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม หมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็กๆ ประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย – พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ)

บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็กๆ ด้วย หมู่บ้านหลวง ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่ กิจกรรมท่องเที่ยวบน ดอยอ่างขาง มีหลายย่างที่สามารถทำได้เช่น เดินเท้าศึกษาธรรมชาติ ขี่ฬ่อล่องไพร เป็นต้น กิจกรรมท่องเที่ยว - ชมแปลงสาธิต ผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวภายในศูนย์ฯ สามรถขับรถวนเป็นวงกลม ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ยานพาหนะคันละ 50 บาท ประเพณีและวัฒนธรรม - เยี่ยมหมู่บ้านหลวง สัมผัสชีวิตชาวจีนฮ่อ - เยี่ยมหมู่บ้านนอแล สัมผัสวิถีชีวิตชาวปะหล่อง อดีตชนเผ่าดั้งเดิมของพม่า มีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้านจำหน่ายและเยี่ยมฐานปฏิบัติการนอแล ชมชายแดนไทย-พม่า - เที่ยวบ้านขอบด้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ามูเซอมีมัคคุเทศก์น้อยพาเยี่ยมชมภายในหมู่บ้าน

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ดอยขะม้อ

อยู่ในตำบลมะเขือแจ้ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 11 เลี้ยวเข้าทางหลวงสายสาย 1147 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร ตั้งอยู่หลังนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เป็นภูเขาไฟโบราณ รูปทรงสัณฐานคล้ายฝาชี บนยอดมีปล่องกว้าง 3 เมตร ลึกประมาณ 6 เมตร ตอนล่างเป็นบ่อ มีน้ำตลอดปี การเดินขึ้นไปบ่อน้ำบนยอดเขาต้องขึ้นบันไดไป 1,749 ขั้น ประชาชนนับถือกันมาแต่โบราณว่า เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้หญิงตัก เมื่อถึงเทศกาลสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจะต้องตักน้ำจากบ่อนี้ไปปนกับน้ำพระราชทาน แล้วจึงนำขึ้นสรงองค์พระธาตุและเมื่อพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จะต้องนำน้ำในบ่อนี้อัญเชิญไปร่วมเป็นน้ำพุทธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกครั้ง