ดอยตุง

พระธาตุดอยตุง
พระธาตุดอยตุง อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ ๔๘ กิโลเมตร แยกซ้ายจากทางหลวงหมายเลข ๑๑๐ ตรงกิโลเมตร ที่ ๘๗๑-๘๗๒ เข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๔๙ ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร เป็นทางราดยางตลอดและขึ้นเขาสูง ขึ้นเรื่อยๆ พระธาตุดอยตุงเป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า นับเป็นครั้งแรกที่พระ พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ได้มาประดิษฐานที่ลานนาไทย
เชียงราย อารยนครอายุกว่า 700 ปี มีมนต์เสน่ห์ล้ำลึกของวัฒนธรรมล้านนา กลมกลืนกันอยู่ในโอบล้อมของผืนป่า ที่เริ่มคืนความเขียวชะอุ่มภายหลังเกิดโครงการพัฒนาดอยตุงฯ กว่า 30 ปีที่ผ่านมาด้วยพระบารมีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชาวเขาและชาวพื้นราบในบริเวณรายรอบดอยตุง ยอดสูงสุดของดอยนางนอน พรมแดนไทย-พม่า ได้เปลี่ยนวิถีจากการปลูกและเสพฝิ่น ถางป่าตัดไม้ และทำไร่เลื่อนลอย หันมาทำเกษตร ปลูกพืชผักเมืองหนาว ทำไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย สร้างผลงานเย็บปักถักทอที่เชื่อมต่อวัตถุดิบพื้นถิ่น และหัตถศิลป์พื้นเมืองสู่การใช้งานในชีวิตประจำวันแบบสากล ในขณะที่กลุ่มชน 30 ชาติพันธุ์ ยังคงอาศัยอยู่อย่างสงบ ตามไหล่เขาและบนดอยสูง แนบแน่นอยู่กับประเพณีดั้งเดิมของตน โดยไม่ถูกวัฒนธรรมเมืองกลืนกิน

วันนี้...ดอยตุงพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนสู่วิถีชุมชนสัมมาชีพโอบล้อมของสวนป่าและอุทยานที่แวดล้อมด้วยไม้ดอกไม้ประดับอันงดงามเกินบรรยาย รำลึกถึง "แม่ฟ้าหลวง" ณ หอพระราชประวัติ เรียนรู้ปรัชญาในการดำรงพระชนม์ชีพ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ทรงให้ชีวิตใหม่แก่ดอยตุง ราษฎรพากันขานพระนามพระองค์ว่า "แม่ฟ้าหลวง" นิทรรศการจัดแสดงด้วยเทคนิคทันสมัยน่าตื่นใจและสะเทือนอารมณ์นับแต่เสด็จสู่สวรรคาลัย ก่อนจะย้อนกลับไปยังช่วงต้นของพระชนม์ชีพ แรกพบสมเด็จพรบรมราชชนก พระราชพิธีอภิเษกสมรส ทรงร่วมใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ทรงอภิบาลพระประมุขของชาวไทย 2 พระองค์ พร้อมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงงานด้านการศึกษา ศาสนา สาธารณสุข สาธารณกุศล และทรงได้รับยกย่องจากยูเนสโกเป็นบุคคลดีเด่นแห่งศตวรรษที่ 20

เพลินชมพระตำหนักดอยตุง เรือนไม้ 2 ชั้นบนเนินต่างระดับ สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างบ้านปีกไม้ ศิลปะล้านนา กับชาเลต์แบบสวิส (Swiss Chalet)สามารถมองเห็นทิวท้ศน์เทือกเขาสลับซับซ้อน กลางห้องเป็นที่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์เพื่อผู้มาเยือนได้สักการะ เพดานดาวเป็นภาพระบบสุริยะและกลุ่มดวงดาวอยู่ในตำแหน่งเดียวกับที่เคยปรากฎ ณ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 วันพระราชสมภพ รอบพระตำหนักประดับด้วยไม้ดอกนานาพันธุ์ สามารถชมห้องบรรทมและห้องทรงงานที่สะท้อนพระราชจริยวัตรอันงดงามเรียบง่าย
เดินชมดงกุหลาบพันปี ณ สวนรุกขชาติดอยช้างมูบ สงบสุขในเส้นทางธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยกลิ่นไม้สน เข้าสู่ดงกุหลาบพันปีนานาพันธุ์ แล้วแวะชม ธารน้ำพระทัย ธารน้ำผุดที่รินไหลสู่เบื้องล่าง

รื่นรมย์ชมไม้เมืองหนาว ณ สวนแม่ฟ้าหลวง ละลานตาด้วยแปลงไม้ดอก และไม้พุ่มจากทุกมุมโลก หมุนเวียนกันเบ่งบานตลอดปี สวยสดราวผืนพรมธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ชมสวนหิน สวนน้ำพุ น้ำผุด ที่จะปรับเปลี่ยนไปทุกปีในช่วงงานห่มหนาว ราวเดือนตุลาคมถึงเมษายน
เยือนหมู่บ้านชาวเขา ชมวิถีชีวิตชาวเขาเผ่าอาข่า (อีก้อ) ลาฮู่ (มูเซอ) ไทยใหญ่ (ฉาน) และจีนอพยพ ที่ยังคงรักษาพิธีกรรมเก่าแก่ไว้ได้ในพื้นที่รำรวยอารยธรรมชนเผ่าซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน

งานฝีมือจากดอยตุงสู่ตลาดโลก ณ ศูนย์งานฝีมือ ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ มีสินค้าดีไซน์เฉพาะ เหมาะสำหรับผู้พิถีพิถันเลือกสินค้า นับแต่ผ้าทอมือ พรมทอมือ ผลิตภัณฑ์กระดาษสา งานปั้นและเครื่องเคลือบดินเผา ไปจนถึงกาแฟดอยตุง และแมคคาเดเมีย และผลิตภัณฑ์ที่ดอยตุงได้รับตราสินค้า UNODC (United Nations Office on Drugs and Crime) เป็นสินค้าสื่อความหมายยับยั้งยาเสพติด และบรรเทาความยากจน ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์โครงการที่ดอยตุงได้รับ แสดงถึงความสำเร็จในการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถบรรเทาปัญหาความยากจน และยุติกระบวนการผลิตยาเสพติด
ที่พัก
ดอยตุง ลอด์จ ห่างจากพระตำหนักดอยตุงระยะเดิน 15 นาที สามารถมองเห็นหมู่บ้านชาวเขา ทุ่งนาป่าสน และดอยตุงในมุมกว้าง ท่ามกลางเสียงใบไม้ และนกร้อง มีห้องพักปรับอากาศเตียงคู่ และเดี่ยว 47 ห้อง พร้อม ทีวี ตู้เย็น เครื่องเป่าผม บริการซักรีด ร้านขายของที่ระลึก ห้องประชุม สัมมนา ร้านอาหารครัวตำหนักบริการอาหารไทยพร้อมผักปลอดสารพิษเก็บสดจากไร่ในโครงการ
การเข้าชม
พระตำหนักดอยตุงเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00 - 18.00 น. เก็บค่าเข้าชมพระตำหนัก คนละ 70 บาท สวนแม่ฟ้าหลวง 80 บาท และหอพระราชประวัติ 30 บาท หากซื้อตั๋วรวมทั้งสามแห่งจะได้ราคา 150 บาท
การเข้าชม
จะมีเจ้าหน้าที่นำชมอธิบายความเป็นมาของพระตำหนัก ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ โครงการพัฒนาดอยตุง อาคารเอนกประสงค์ พระตำหนักดอยตุง โทร. 0 5376 7015 - 7 การเดินทาง พระตำหนักดอยตุงอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 60 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไป 45 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1149 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีม่วงบริเวณปากทาง รถออกตั้งแต่ 07.00 น
โครงการพํฒนาดอยตุง พระธาตุดอยตุง อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ ๔๘ กิโลเมตร แยกซ้ายจากทางหลวงหมายเลข ๑๑๐ ตรงกิโลเมตร ที่ ๘๗๑-๘๗๒ เข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๔๙ ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร เป็นทางราดยางตลอดและขึ้นเขาสูง ขึ้นเรื่อยๆ
ภาพถ่ยมุมสูงในโครงการพัฒนาดอยตุง
ดอกไม้นานาพรรณที่โครงการเขาเพระขึ้นมาได้
ทั้งดอกไม้เมืองหนาว
ดอกไม้ต่างประเทศอีกมากมาย

No comments: